การตูน

คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีในชิวิตประจำวัน

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจําวันการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล มีมากมายหลายด้าน ได้แก่
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น กล่าวคือ ทำให้งานมีความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในงานสำนักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เครื่องถ่ายเอกสาร ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้หลายลักษณะ เช่น
        1.1 งานจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำ แบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
            1.1.1 ระบบเดี่ยว (Stand – alone) เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว หรือจะเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
            1.1.2 ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์
        1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่าง ๆ อาจกระทำโดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงานกระจายเอกสารได้โดยอัตโนมัติ ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทคมนาคมรูปแบบอื่น เช่นระบบฐานข้อมูลเป็นต้น
    
     
1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ดำเนินงานดังกล่าว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศน์
        1.5 งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง เช่น โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์
        1.6 งานสื่อสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุการเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน และนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคารด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคารต่างสาขา ต่างธนาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเบิก ถอน โอนเงินชำระเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล
5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข เช่น
        5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ถูกนำมาใช้ในระบบงานเวชระเบียน ระบบข้อมูลยาการรักษาพยาบาล การคิดเงิน รวมทั้งการส่งเวชระเบียนผ่านระบบโทรคมนาคมที่อาจเรียกว่า โทรเวชได้
        5.2 ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการดูแลรักษาโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน ซึ่งอาจกลายเป็นโรคระบาดได้
        5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรค เช่น ระบบ Mycinของมหาวิทยาลัยสแดนฟอร์ด โดยเริ่มมาใช้ในการวินิจฉัยโรคพืชและโรคสัตว์ ที่ใช้หลักการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้โดยละเอียดแล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวคิดในการทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนมนุษย์


6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมการศึกษา ดังนี้
        6.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอาคำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายเหล่านั้น คอมพิวเตอร์จะมีส่วนที่ใช้ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ หากเข้าใจไม่ถูกต้องคอมพิวเตอร์จะทำการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก
        6.2 การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การเรียนการสอนผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงใช้ระบบแพร่ภาพการสอนผ่านดาวเทียม หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันที่ เพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอน เพิ่มเติม
        6.3 เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษาเพื่อให้ครูอาจารย์และนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และใช้บริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทาง การศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail : E-mail) การเผยแพร่และค้นหา ข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)

        6.4 การใช้งานในห้องสมุด มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานโดยมีเครือข่ายต่าง ๆ ที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนในการให้บริการห้องสมุด การนำเทคโนโลยี
สารสนเทศมาใช้ในห้องสมุดให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริการยืม คืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ หรือการค้นหาข้อมูลที่ต้องการทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมาก
        6.5 การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมืออื่น ๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การ ควบคุม การทดลอง
        6.6 การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา การเลือกวิชาเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลการเรียน การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวการศึกษาต่อ การเก็บข้อมูลผู้ปกครองหรือข้อมูลครู ซึ่งทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตามและดูแล นักเรียนได้ใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :https://sites.google.com/site/pnru261/tecnology-for-life-1

ยาเสพติด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้วัยรุ่นใช้สารเสพติด

ในปัจจุบันพบว่า คนในช่วงวัยรุ่นตอนปลายคือ อายุระหว่าง 17-20 ปี เป็นกลุ่มที่มีการใช้สารเสพติดเกือบจะมากที่สุด การที่เป็นเช่นนี้เพราะมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กลุ่มวัยรุ่นตอนปลายใช้สารเสพติด กล่าวคือ
3. อิทธิพลจากปัญหาของตัววัยรุ่นเอง ได้แก่ การที่วัยรุ่นไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน มีผลการเรียนต่ำ มีปัญหากับเพื่อนหรือคนรัก รวมทั้งปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น เป็นคนที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความนับถือตนเอง ไม่เห็นคุณค่าของตนเอง มีปมด้อยในเรื่องรูปร่างหน้าตา หรือปัญหาด้านจิตใจในลักษณะอื่นๆ ทำให้วัยรุ่นหันเข้าหายาเสพติด
4. ช่วงเวลาที่ทำให้เกิดความเครียด ได้แก่ ช่วงใกล้สอบ ช่วงเวลาที่ต้องตัดสินใจเลือกเรียนต่อ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่ทำให้เกิดความเครียดรวมทั้งช่วงเวลาที่วัยรุ่นต้องการดูหนังสืออย่างหนักเพื่อเตรียมสอบก็มักจะใช้สารเสพติดเพื่อกระตุ้นให้ตนเองดูหนังสือได้มากขึ้นและนานขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะในความจริงแล้วการใช้สารเสพติดโดยเฉพาะพวกสารกระตุ้นประสาทไม่ได้ช่วยให้สามารถเรียนหรือทำงานได้นานขึ้นหรือมากขึ้น และยังส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งที่ทำวัยรุ่นใช้สารเสพติด แต่การที่วัยรุ่นใช้สารเสพติดนั้นมักเกิดจากปัจจัยหลายๆปัจจัยร่วมกัน
1. แรงกดดันจากเพื่อน โดยกลุ่มเพื่อนชักชวนหรือบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ใช้สารเสพติด เช่น ถ้าไม่ใช้ก็ไม่ยอมรับเป็นพวกหรือกลุ่มเดียวกัน รวมทั้งเยาะเย้ยว่าเชยหรือไม่ทันสมัยหรือเป็นลูกแหง่ไม่รู้จักโต (โดยเฉพาะวัยรุ่นชาย) ถ้าไม่เคยทดลองใช้สารเสพติดบางชนิด เช่น บุหรี่ เหล้า เบียร์ ไวน์ ซึ่งต่อไปก็นำไปสู่การใช้สารเสพติดที่ร้ายแรงขึ้น เช่น ฝิ่น กัญชา ยาบ้า และเฮโรอีน
2. อิทธิพลจากครอบครัว  ครอบครัวมีอิทธิพลอย่างมากต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น ซึ่งเป็นอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น พ่อแม่สูบบุหรี่หรือดื่มเหล้า แล้วใช้ลูกไปซื้อบุหรี่ ซื้อเหล้า หรือใช้ให้ลูกจุดบุหรี่ให้สูบ ผสมเหล้าหรือรินเหล้าให้ดื่ม หรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อจะเป็นการปลูกฝังให้ลูกเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องที่ผิดร้ายแรงอะไรจนเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น พวกเด็กๆในครอบครัวเหล่านี้ก็จะใช้บุหรี่ เหล้า รวมทั้งสารเสพติดชนิดอื่นๆ ด้วยตนเอง นอกจากนั้นในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันเป็นประจำหรือบ่อยครั้ง ลูกวัยรุ่นต้องการหลีกหนีสถานการณ์นั้นจึงหันเข้าหาสารเสพติดได้โดยง่าย และในทำนองเดียวกัน ครอบครัวที่เข้มงวดกับลูกวัยรุ่นมากๆ การไม่ให้เหตุผล บรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตรภายในครอบครัว การที่แม่ถูกพ่อข่มเหงหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อลูกวัยรุ่นก็จะทำให้ลูกวัยรุ่นหันเข้าหาสารเสพติดได้โดยง่ายเช่นกัน
- See more at: http://ntsinw.com/#sthash.XQAdTVUD.dpuf

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

องค์การและการจัดการ

ความหมายขององค์การ

     องค์การ หมายถึงการรวมตัวกันเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และร่วมกันทำงานในลักษณะกลุ่มที่มีการรวบรวมทรัพยากร และความพยายามของทุกฝ่ายมาดำเนินการร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
 ลักษณะขององค์การ
  1. มีบุคคลอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป รวมกันเข้าเป็นกลุ่ม       นั่นคือกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายร่วมกันโดยมีความเชื่อว่าลำพังคนเดียวไม่สามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้ตอบสนองความต้องการของตนได้ ทั้งนี้เพราะการดำเนินการคนเดียวไม่สามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้ตอบสนองความต้องการของตนได้ เพราะการดำเนินการคนเดียวขาดพลัง ความสามารถ เวลา และศักยภาพที่จะลงมือปฎิบัติให้กิจกรรมนั้นสำเร็จลุล่วงไป ดังนั้นบุคคลจึงมุ่งแสวงหาความร่วมมือร่วมใจกันเพื่อให้เป้าหมายที่วางไว้สัมฤทธิ์ผลได้
  2. มีโครงสร้างความสัมพันธ์ที่กำหนดขอบข่ายกิจกรรมต่างๆขององค์การในรูปโครงสร้าง องค์การเป็นหน่วยที่เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  เพราะองงค์การประกอบด้วยปัจเจกชน วิธีดำเนินการ วัตถุประสงค์ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  3. องค์การเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของการจัดการ โดยมององค์การในรูปของการจัดกิจกรรม หรืองานต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน แบ่งงานกันทำตามความสามารถ โดยมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ  อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบและการมอบหมายงาน ให้เหมาะสมกับภารกิจหลักขององค์การเป็นหน้าที่พื้นฐานทางการจัดการ
  4. องค์การคือกระบวนการ เป็นการลำดับการทำงานว่าภารกิจใดควรเริ่มก่อนหลัง ซึ่งการทำงานใดๆ หากเป็นไปด้วยความต่อเนื่องจะก่อให้เกิดความรวดเร็ว
  5. สมาชิกของกลุ่มจะเต็มใจเข้ามาร่วมกันทำงานพื่อให้ได้ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
 สาเหตุที่ต้องมีองค์การ
  1. มนุษย์ทุกคนมีความต้องการ และซึ่งเป็นความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุดที่อยากมีการอยู่ดีกินดียิ่งขึ้นไปกว่าแต่ก่อน
  2. มนุษย์ทุกคนมีความสามารถจำกัด ทั้งด้านกำลังกายและกำลังความคิด  ซึ่งทำให้แต่ละคนไม่กระทำสิ่งใดๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยตนเองตามลำพัง
 วัตถุประสงค์ขององค์การ
  1. วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจหรือกำไร กำไรในที่นี้อาจแสดงในรูปตัวเงิน กำไรเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งหรืออ่อนแอขององค์การ องค์การใดที่มีกำไรสูงแสดงว่าองค์การนั้นกำลังเจริญเติบโตและมีความมั่นคงในทางตรงข้ามถ้าหากกำไรลดต่ำลงแสดงว่าองค์การนั้นกำลังมีปัญหา
  2. วัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้บริการ โดยเฉพาะองค์การที่เป็นของรัฐ การมุ่งจัดทำบริการสาธารณะต่างๆ สนองความต้องการของปนะชาชน สำหรับองค์การทางธุรกิจก็ได้มีการปรับปรุงวัตถุประสงค์ด้านการมุ่งกำไรสูงสุดมาเป็นการเสริมวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้บริการเพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันธุรกิจมีแต่การแข่งขัน
  3. วัตถุประสงค์ด้านสังคม เป็นองค์การภาคราชการเพราะการก่อตัวขององค์การเพื่อจัดบริการต่างๆ สนองความต้องการของประชาชนมุ่งเน้นสร้างความเจริญมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ
 เมื่อพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่ล้อมรอบตัวเรา เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราเป็น 3
 ลักษณะ คือ
  1. องค์การทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย วัด สมาคม ชมรม กลุ่มกิจกรรมต่างๆ
  2. องค์การทางราชการ ได้แก่ หน่วยงานราชการต่างๆ ซึ่งครอบคลุมถึง กระทรวง ทบวง ที่เรียกว่าระบบราชการ เป็นองค์การขนาดใหญ่ มีโครงสร้างที่ซับซ้อน
  3. องค์การเอกชน ได้แก่ บริษัท ร้านค้าต่างๆ ที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า
             จากลักษณะขององค์การที่ได้กล่าวมาแล้ว เราจะเห็นได้ว่าเราอยู่ท่ามกลางองค์การทั้งสิ้น และบางองค์การยังสัมพันธ์กับองค์การอื่นๆ อีกด้วย
 ประเภทขององค์การ
      การจำแนกประเภทขององค์การอาจแบ่งได้โดยยึดหลักต่างๆ กันดังนี้
1. การจำแนกองค์การโดยยึดวัตถุประสงค์ขององค์การ
    (1) องค์การเพื่อประโยชน์ของสมาชิก ได้แก่ องค์การที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของสมาชิกโดยตรง เช่น พรรคการเมือง สหกรณ์ สโมสร สมาคมวิชาชีพ เป็นต้น
    (2)    องค์การทางธุรกิจ ได้แก่ องค์การที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์หรือกำไร เช่น ห้างร้าน  บริษัท
ธนาคาร โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
   (3) องค์การเพื่อบริการ ได้แก่ องค์การที่มุ่งสร้างประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สมาคมเพื่อการสังคมสงเคราะห์ต่างๆ เป็นต้น
   (4) องค์การเพื่อสวัสดิภาพของประชาชน ได้แก่ องค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เช่น กระทรวง ทบวง กรม กองทหาร สถานีตำรวจ เป็นต้น
  2. การจำแนกองค์การโดยยึดโครงสร้าง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
(1) องค์การที่มีรูปแบบ (Formal Organization) เป็นองค์กรที่เป็นทางการ คือองค์การที่มีโครงสร้างอย่างมีรูปแบบ  ลักษณะจะมีลักษณะดังนี้
-          มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
-          มีการกำหนดในเรื่องหน่วยงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ของแต่ละแห่ง
-          มีการกำหนดเรื่องอำนาจ ในการบังคับบัญชา และวินิจฉัยสั่งงานโดยกำหนดลดหลั่นกันเป็นลำดับ
-          การกำหนดความสัมพันธ์ และการติดต่อของหน่วยงาน แสดงให้ปรากฏว่ากิจการต่างๆ ขององค์การมีการจัดการแบ่งแยกกันอย่างไร ใครมีอำนาจหน้าที่อย่างไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
(2) องค์การไร้รูปแบบ (Informal Organization) หรือองค์การอรูปนัย  หรือองค์การนอกรูปแบบ หรือองค์การที่ไม่เป็นทางการ องค์การประเภทนี้เป็นองค์การที่ไม่มีโครงสร้าง  ไม่มีระเบียบและไม่มีกฏกำหนดแน่นอน ไม่มีกำหนดหน้าที่ของหน่วยงาน แต่ละคน ไม่มีสายการบังคับบัญชา วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การขึ้นอยู่กับความพอใจ และความสมัครใจของบุคคลที่มารวมกัน